งานการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)
เข้าร่วมงานการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน
วันที่ 19 – 24 กันยายน พ.ศ. 2565
ณ. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช
เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยัง หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทรงเปิดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการ อพ.สธ. โดยในปีนี้ สจล. นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงมากกว่า 9 ผลงาน อันได้แก่
- การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณพื้นที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ. สธ.) โดย ดร.นฤมล ตั้งธีระสุนันท์ คณะวิทยาศาสตร์
- การสำรวจพืชสกุลโฮย่าและใกล้เคียงเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการประหยัดพลังงานสำหรับการตกแต่งอาคารอย่างยั่งยืน โดย ผศ.ดร.ธนารักษ์ จันทรประสิทธิ์ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วยไม้สกุลช้าง ในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี โดย ดร.วิมลมาศ บุญมี คณะวิทยาศาสตร์
- ลำไยเถาพันธุ์ไม้ที่ควรอนุรักษ์ โดย รศ.ดร.สุพัตรา โพธิ์เอี่ยม คณะวิทยาศาสตร์
- การอนุรักษ์พันธุกรรม และการเพิ่มปริมาณเป็นต้นใหม่ของพะยูงพันธุ์ไทย (Dalbergia cochinchinensis Pierre) โดย รศ.ดร.อนุรักษ์ โพธิ์เอี่ยม คณะวิทยาศาสตร์
- การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์เสม็ดขาวอย่างยั่งยืน : การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น การขยายพันธุ์ สารสำคัญจากใบ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi Powell) เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดย ผศ.ดร.นาตยา มนตรี คณะเทคโนโลยีการเกษตร
- การอนุรักษ์ การขยายพันธุ์ และการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ม้าวิ่ง (Doritis pulcherrima Lindl.) เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดย ผศ.ดร.นาตยา มนตรี คณะเทคโนโลยีการเกษตร
- ผลของคุณภาพสีธรรมชาติและวัตถุดิบที่มีต่อกระบวนการศิลปะบำบัดแนวมนุษยปรัชญา (กรณีศึกษาโดยทฤษฎีสี ของ โจอัน วูฟกัง เกอร์เธ่) โดย รศ.น้ำอ้อย สายหู คณะสถาปัตยกรรมศิลปะ และการออกแบบ
- การวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบในการปลูกสัก : การปลูกพืชแซมในสวนป่าสักในภาคใต้ของประเทศไทย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดย ผศ.ดร.นาตยา มนตรี คณะเทคโนโลยีการเกษตร
โดย ภายในบูธ มีกิจกรรม Work shop “การทำยาหม่องและน้ำมันเขียวจากเสม็ดขาว” สรรพคุณบรรเทาอาการคัดยอก ฟกช้ำ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ โดยขั้นตอนง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก สามารถมาลองทำและได้ของติดมือกลับไปด้วย